สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 6-12 พฤศจิกายน 2566

 

ข้าว

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2565/66 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.838 ล้านไร่ ผลผลิต 26.712 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 425 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 1.45 ร้อยละ 4.28 และร้อยละ 2.82 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อย ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับบางพื้นที่พบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น โรคไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 ปริมาณ 16.555 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 64.75 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - พฤศจิกายน 2566 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 22.938 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 89.71 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 2.631 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 10.29 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.877 ล้านไร่ ผลผลิต 6.351 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.099 ล้านไร่ ผลผลิต 7.199 ล้านตันข้าวเปลือก ผลผลิตต่อไร่ 649 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 11.01 ร้อยละ 11.78 และร้อยละ 0.92 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 4.260 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 67.08 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,594 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,147 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.91
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,137 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,548 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.28
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 28,850 บาท ราคาลดลงจากตันละ 31,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.70  
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 18,830 บาท ราคาลดลงจากตันละ 19,250 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.18           
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 853 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,116 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 862 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,841 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.04 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 725 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 583 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,584 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 584 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,895 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 311 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 577 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,372 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 578 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,680 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 308 บาท
หมายเหตุ: อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.3064 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) อินโดนีเซีย
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า นาย Awaludin Iqbal เลขาธิการสำนักงานกำกับดูแลและควบคุมปริมาณและราคาข้าวของอินโดนีเซีย กล่าวว่า รัฐบาลเตรียมวางแผนกำหนดโควตาการนําเข้าข้าวปริมาณ 2 ล้านตัน
ในปี 2567 ซึ่งลดลงจากปี 2566 ที่กำหนดโควตานำเข้าปริมาณ 3.8 ล้านตัน โดยการนําเข้าจะขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานข้าวในประเทศ รวมทั้ง รัฐบาลจะขยายระยะเวลาโครงการจัดหาข้าวรายเดือนให้ประชาชนที่มีรายได้น้อย ประมาณ    22 ล้านครัวเรือน จากเดิมสิ้นสุดโครงการเดือนธันวาคม 2566 เป็นสิ้นสุดเดือนมิถุนายน 2567 เพื่อบรรเทาปัญหาภาวะราคาข้าวในประเทศที่ปรับสูงขึ้น นอกจากนี้ นาย Zulkifli Hasan รัฐมนตรีกระทรวงการค้าของอินโดนีเซีย กล่าวเพิ่มเติมว่า การที่รัฐบาลตัดสินใจขยายระยะเวลาโครงการดังกล่าว เนื่องจากราคาข้าวในประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2566 ราคาข้าวปรับสูงขึ้นร้อยละ 19.80 เพราะได้รับอิทธิพลจากปรากฎการณ์เอลนีโญ สภาพภูมิอากาศแปรปรวน และประสบปัญหาภัยแล้ง ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ลดลง
ทั้งนี้ ในช่วงเดือนมกราคม – กันยายน 2566 อินโดนีเซียนําเข้าข้าวประมาณ 1.79 ล้านตัน ขณะที่สต็อกข้าว   ณ ต้นเดือนพฤศจิกายน 2566 คงเหลือประมาณ 1.45 ล้านตัน และคาดว่าสต็อกข้าวจะเพิ่มขึ้นจากการนําเข้าข้าวในปี 2567 เพื่อตอบสนองต่อความต้องการบริโภค และรักษาเสถียรภาพราคาข้าวในประเทศ
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
2) อินเดีย – อิหร่าน
กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมของอินเดีย รายงานว่า ในช่วงเดือนมกราคม – สิงหาคม 2566 อิหร่านนำเข้าข้าวจากอินเดียลดลงร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 โดยข้าวที่นำเข้าในปี 2566 มีมูลค่า 544 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 19,207 ล้านบาท) ลดลงจากปี 2565 ที่นำเข้ามูลค่า 913 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 32,235 ล้านบาท) ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่กรมศุลกากรของอิหร่านรายงานว่า ในช่วงวันที่ 21 มีนาคม - 20 สิงหาคม 2566 อิหร่านนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ ปริมาณ 536,793 ตัน มูลค่าประมาณ 633 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 22,349 ล้านบาท) ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2565 ร้อยละ 43 และร้อยละ 44 ตามลำดับ โดยในปี 2566 อิหร่านนำเข้าข้าวจากประเทศ อินเดียสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปากีสถาน อิรัก และไต้หวัน ขณะที่ปี 2565 อิหร่านนำเข้าข้าวจาก อินเดีย ปากีสถาน ไทย อุรุกวัยและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยชนิดข้าวที่นำเข้ามากที่สุด คือ ข้าวบาสมาติ
นาย Amir Talebi รองประธานฝ่ายการค้าต่างประเทศ สังกัดหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในกำกับกระทรวงเกษตรของอิหร่าน กล่าวว่า สาเหตุที่อิหร่านนำเข้าข้าวลดลง เนื่องจากเมื่อปี 2565 รัฐบาลอิหร่านนำเข้าข้าวจากต่างประเทศปริมาณมาก เพิ่มเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับปริมาณข้าวที่นำเข้าเมื่อปี 2564 ส่งผลให้ยังคงมีข้าวเหลือในสต็อกและเพียงพอสำหรับการบริโภค รวมทั้งเพื่อการรักษาสมดุลปริมาณข้าวในคลังสำรองของภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้   ช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวในประเทศตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม - 20 พฤศจิกายน ของทุกปี รัฐบาลอิหร่านจะประกาศห้ามนำเข้าข้าวตามฤดูกาล เพื่อเป็นการคุ้มครองเกษตรกรและผลผลิตภายในประเทศ
ทั้งนี้ อิหร่านมีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 803,000 เฮกตาร์ (ประมาณ 5,018,750 ไร่) เก็บเกี่ยวผลผลิตในแต่ละปีได้ประมาณ 2.50 - 2.95 ล้านตัน ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ จึงจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้า อย่างไรก็ตาม ปริมาณการนำเข้าข้าวตามโควตาในแต่ละปีไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาล เหตุการณ์ทางการเมือง และปัญหาภัยธรรมชาติ
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.3064 บาท

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.07 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.32 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.09 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.20 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.53
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.89 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.19 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.94 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 285.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,076.00 บาท/ตัน)  ลดลงจากตันละ 290.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,383.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 307.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 470.72 เซนต์ (6,620.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 475.80 เซนต์ (6,781.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.07 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 161.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.049 ล้านไร่ ผลผลิต 27.941 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.088 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.350 ล้านไร่ ผลผลิต 30.732 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.287 ตัน
พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ เลดลงร้อยละ 3.22 ร้อยละ 9.08 และร้อยละ 6.05 ตามลำดับ โดยเดือนพฤศจิกายน 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.80 ล้านตัน (ร้อยละ 6.45 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 16.45 ล้านตัน (ร้อยละ 58.88 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังเริ่มทยอยออกสู่ตลาด แต่ยังมีปริมาณน้อย ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ ราคาหัวมันสำปะหลังสดมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.91 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.85 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.11
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.27 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.14 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.82
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.88 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.97 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.00
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.86 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 18.76 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.53
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 281.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,990 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 282.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,200 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.53
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 567.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,180 บาทต่อตัน)  ราคาทรงตัวที่ตันละ 567.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,490 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤศจิกายนจะมีประมาณ 1.403 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.253 ล้านตัน
ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.507  ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.271 ล้านตันของเดือนตุลาคม 2566 คิดเป็นร้อยละ 6.90 และร้อยละ 6.64 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.95 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 5.71 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.20
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 32.13 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 31.28 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.72
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
MPOB ให้ข้อมูลว่าสต็อกน้ำมันปาล์มของมาเลเซีย ณ สิ้นเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.84 จากเดือนกันยายน ไปอยู่ที่ 2.45 ล้านตัน และมีการผลิตน้ำมันปาล์มดิบเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.89 จากเดือนกันยายน ไปอยู่ที่ 1.94 ล้านตัน และมีการส่งออกเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 1.47 ล้านตัน
ทั้งนี้ รอยเตอร์คาดการณ์ว่าจะมีสต็อกน้ำมันปาล์ม ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 2.56 ล้านตัน มีการผลิตน้ำมันปาล์มดิบอยู่ที่ 1.88 ล้านตัน และมีการส่งออกอยู่ที่ 1.29 ล้านตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,631.85 ริงกิตมาเลเซีย (27.97 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 3,611.32 ริงกิตมาเลเซีย (27.73 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.57
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 924.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.01 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 871.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31.53 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.08
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
           - Czarnikow รายงานข้อมูลว่า ประเทศจีนมีพื้นที่ปลูกอ้อยในเมืองหลินชาง (Lincang) ของมณฑลยูนนาน (Yunnan) เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 ในปี 2566/2567 เป็นผลมาจากชาวไร่อ้อยได้รับราคาอ้อยที่สูงขึ้น จากการชำระค่าอ้อยงวดที่สอง โดยราคาอ้อยมีความเชื่อมโยงกับราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น  ซี่งคาดว่าจะทำให้ราคาอ้อยภายในประเทศจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 – 12  อีกทั้งจะช่วยเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกอ้อยของจีนได้ ด้าน COFCO Sugar เสริมว่า พื้นที่ปลูกอ้อยในเขตกวางซี (Guangxi) เพิ่มขึ้นเช่นกัน และคาดว่าราคาน้ำตาลของจีนจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไป
          - เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น รายงานว่า ขณะนี้รัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) ของประเทศอินเดีย ได้อนุมัติใบอนุญาตการหีบสำหรับโรงงานน้ำตาลเพียง 137 โรง จากคำขอทั้งหมด 217 โรง อย่างไรก็ตาม คาดว่ากระบวนการอนุมัติจะเสร็จสิ้นภายในหนึ่งสัปดาห์จากนี้ ซึ่งจะช่วยให้การเก็บเกี่ยวคืบหน้าเร็วขึ้น หลังจากสิ้นสุดเทศกาลดิวาลี ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2566 โดยแหล่งข่าวกล่าวเสริมว่า การประท้วงของชาวไร่อ้อยอาจทำให้การเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่มีความล่าช้า ในขณะเดียวกันประธานของ ChiniMandi ตั้งข้อสังเกตว่า รัฐบาลอินเดียประสบความสำเร็จในการรักษาระดับราคาน้ำตาล แม้ว่าราคาในตลาดโลกจะพุ่งสูงขึ้น 
          - บริษัทอุตุนิยมวิทยาเอกชนของบราซิล MetSul Meteorologia รายงานว่า ความรุนแรงของปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino) ในช่วงที่ผ่านมาใกล้จะถึงระดับความรุนแรงที่สูงที่สุด คือ ระดับซูเปอร์เอลนีโญ และคาดการณ์ว่าจะมีความรุนแรงถึงระดับสูงสุดในช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2566 ซึ่งจะส่งผลให้มีฝนตกสูงกว่าปกติในพื้นที่ทางตอนใต้ และตอนกลางของบราซิลในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยปรากฏการณ์เอลนีโญจะคงอยู่จนถึงครึ่งแรกของปี 2567 ด้านองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) คาดการณ์ว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญจะคงอยู่ถึงเดือนเมษายน 2567



 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 19.00 บาท ราคาลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,339.80 เซนต์ (17.58 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,298.44 เซนต์ (17.04 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.16
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 446.80 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.96 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 431.26 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.40 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.60
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 50.38 เซนต์ (39.66 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 50.68 เซนต์ (39.90 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.59


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 25.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 6.52
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.40 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.41
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.20 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.63
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.20 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.31
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 990.20 ดอลลาร์สหรัฐ (34.96 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 979.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.08 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.09 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 819.60 ดอลลาร์สหรัฐ (28.94 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 822.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.41 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.47 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,445.40 ดอลลาร์สหรัฐ (51.04 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,407.40 ดอลลาร์สหรัฐ (50.36 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.70 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.68 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 933.40 ดอลลาร์สหรัฐ (32.96 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 923.20 ดอลลาร์สหรัฐ (33.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.10 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,013.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.77 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,036.00 ดอลลาร์สหรัฐ (37.07 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.22 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.30 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.53 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.15 บาท บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 10.73
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.95 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,885  บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,929  บาท คิดเป็นร้อยละ 2.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,386 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,408 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.56 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 925 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 908 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.87 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งเป็นผลจากมาตรการปราบปรามการลักลอบการนำเข้าเนื้อสุกรอย่างเข้ม ในขณะที่ความต้องการบริโภคยังคงมีอย่างต่อเนื่อง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  64.60 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 63.66 คิดเป็นร้อยละ 1.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 60.25 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 60.50 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 66.22 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 65.35 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,500 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 1,300 คิดเป็นร้อยละ 15.38 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นจากสถานศึกษาทยอยเปิดภาคเรียน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.68 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.55 คิดเป็นร้อยละ 0.32 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.31 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.70 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.50 คิดเป็นร้อยละ 0.55 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.40 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.00 คิดเป็นร้อยละ 0.71 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา  เนื่องจากความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นจากสถานศึกษาทยอยเปิดภาคเรียน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 372 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 370  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.54 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 353 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 355 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 384 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 431 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
 
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 407 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 404 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.74 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 419 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 413 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 385 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 444 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.65 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 87.96 บาท  ลดลงจากกิโลกรัมละ 88.51 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.62 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.69 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 82.44 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 80.07 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 65.45 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 66.09 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.97 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.44 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน


 

 
 

 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 6 - 12 พฤศจิกายน 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.37 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 60.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.26 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.86 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.48 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.38 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 121.40 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 118.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.60 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 122.50 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 116.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.50 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.18 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 72.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.98 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.05 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.40 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 42.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท และปลาป่น
ชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.40 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 37.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท